โรคอ้วน วัดได้จาก ดัชนีมวลกาย
- sara darnons
- Feb 7, 2018
- 1 min read

โรคอ้วน วัดได้จาก ดัชนีมวลกาย
ปัจจุบันปัญหาโรคอ้วน ในคนไทยได้ทวีความรุนแรงขึ้น สาเหตุเนื่องมาจากรูปแบบการใช้ชีวิตของคนยุคปัจจุบันที่บริโภคอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูงเกินความจำเป็น อีกทั้งยังไม่มีเวลาออกกำลังกาย โรคอ้วนเป็นสาเหตุสำคัญของโรคที่ตามมาหลายอย่าง ความอ้วนเป็นบ่อเกิดของโรคต่างๆ มากมายซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้สุขภาพย่ำแย่ แต่อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะทุกคนสามารถระมัดระวังไม่ให้ตัวเองเป็นโรคอ้วนได้ ด้วยการสังเกตดูน้ำหนักของตัวเองให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ หรือวัดค่าดัชนีมวลกาย (BMI) จาก เครื่องวัดไขมันในร่างกาย (Body Fat Scale) โรคอ้วนแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
1) อ้วนลงพุง โรคอ้วนลงพุงเป็นลักษณะของคนอ้วนที่มีการสะสมของไขมันที่บริเวณช่องท้องและอวัยวะภายใน วินิจฉัยโดยการวัดเส้นรอบเอว โดยโรคอ้วนลงพุงจะได้รับการวินิจฉัยเมื่อมี ค่าเส้นรอบเอวตั้งแต่ 90 เซนติเมตรขึ้นไปในผู้ชาย และตั้งแต่ 80 เซนติเมตรขึ้นไปในผู้หญิง และสามารถวัดได้จากค่าดัชนีมวลกาย หรือ body mass index (BMI) โดยโรคอ้วนลงพุงจะมีความสัมพันธ์กับโรคแทรกซ้อนมากมาย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
2) อ้วนทั้งตัว เป็นลักษณะของคนอ้วนที่มีไขมันทั้งร่างกายมากกว่าปกติ โดยไขมันที่เพิ่มขึ้นไม่ได้จำกัดอยู่ที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งโดยเฉพาะ คนที่เป็นโรคอ้วน ทั้งตัวส่วนใหญ่มักจะมีโรคอ้วนลงพุงร่วมอยู่ด้วย ทำให้โรคอ้วนได้ เราสามารถตรวจดูว่าเป็นโรคอ้วน หรือไม่จากการวัดด้วย เครื่องวัดไขมันในร่างกาย (Body Fat Scale) โรคอ้วนทั้งตัวมีความสัมพันธ์กับโรคต่างๆ มาก ทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคข้อเสื่อม โรคปวดหลัง และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นต้น
ดัชนีมวลกาย (BMI) ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ เพราะจะทำให้หายใจลำบาก มีปัญหาเรื้อรังเกี่ยวกับกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ ปัญหาทางผิวหนัง และทำให้มีบุตรยากอีกด้วย เพราะน้ำหนักที่มากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งไต และมะเร็งถุงน้ำดี การวินิจฉัยโรคอ้วนและโรคอ้วนลงพุง เราสามารถประเมินตัวเองว่าเป็นโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกินหรือไม่ ด้วยการวัดค่าดัชนีมวลกาย หรือ body mass index (BMI) จากเครื่องวัดไขมันในร่างกาย (Body Fat Scale) โดยมีสูตรคำนวณง่ายๆ ดังนี้
ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร)2
เช่น หากสูง 170 ซม. และหนัก 55 กก. ค่า BMI จะเท่ากับ 55/(1.7) X 2 = 19.03 โดยประมาณ ซึ่งในวัยผู้ใหญ่ หากค่า BMI อยู่ระหว่าง 18.5-24.9 ก็ถือว่าน้ำหนักตัวยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ถ้าค่า BMI อยู่ที่ 25-29.9 แสดงว่าน้ำหนักตัวเกิน และถ้าค่า BMI เท่ากับ 30 หรือมากกว่า นั่นหมายความว่า คุณกำลังเป็นโรคอ้วนแล้วล่ะ จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลก พบว่า ทั่วโลกมีคนในวัยผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินมากกว่า 1,000 ล้านคน และอย่างน้อย 300 ล้านคนในจำนวนนี้เป็นโรคอ้วน สามารถดู ตารางค่าดัชนีมวลกาย หรือ body mass index (BMI) ด้านล่าง

ลดพุง ป้องกัน โรคเบาหวาน จากการศึกษาของคณะวิจัยมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ พบว่า ชายและหญิงที่มีไขมันในร่างกายและสัดส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพกสูง หรือโรคอ้วนลงพุง จะมีโอกาสเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในขณะที่ปัจจัยในวัยเด็ก เช่น น้ำหนักแรกคลอด และภาวะโภชนาการ ส่งผลต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานน้อยมาก ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวอาจช่วยลดความเชื่อที่ว่า สุขภาพที่ไม่ดีในบั้นปลายชีวิต เป็นผลมาจากการใช้ชีวิตก่อนหน้านี้ จึงหมั่นตรวจสุขภาพและควบคุมความอ้วน และควบคุมโรคอ้วนแต่เนิ่น ๆ จะเป็นประโยชน์ในอนาคต เป็นผู้สูงวัยที่สุขภาพกายและใจแข็งแรง
ลดมวลไขมัน เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สามารถบอกได้อย่างชัดเจนและแม่นยำ ว่า ใครบ้างที่กำลังเป็นโรคอ้วน (Obesity) หรือ ใครบ้างที่กำลังมีไขมันส่วนเกินสะสมอยู่ในร่างกาย นั่นคือ การตรวจ Body composition หรือการวัดส่วนประกอบของร่างกายจากเครื่องวัดไขมันในร่างกาย (Body Fat Scale) สามารถตรวจวิเคราะห์ปริมาณไขมันที่สะสมในร่างกาย ตรวจวิเคราะห์ มวลไขมัน (Body Fat) ได้แล้วยังวิเคราะห์มวลกล้ามเนื้อ (Muscle Mass) และมวลกระดูก (Bone Mass) ในร่างกายได้อีกด้วย คนที่ทราบว่าตัวเองอ้วน น้ำหนักเกิน จากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และต้องการตรวจว่าองค์ประกอบของไขมันตามส่วนต่างๆ ในร่างกายมีเท่าใด เพื่อเป็นการเริ่มต้นการวางแผนลดมวลไขมันและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ มวลกระดูก อย่างถูกจุด
เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ สร้างมวลกระดูก คนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เล่นกีฬาประจำ เน้นในส่วนของการลดไขมันสะสมในร่างกาย สร้างมวลกล้ามเนื้อและสร้างความสมดุลของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะช่วยเพิ่มการเผาผลาญ ทำให้ระดับไขมันในร่างกายลดลง และเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก การออกกำลังกายจะให้ประโยชน์ในสองด้าน หนึ่งคือช่วยให้ร่างกายมีความคล่องแคล่ว ช่วยในการทรงตัว สร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อและยังกระตุ้นให้เกิดการสร้างมวลกระดูกมากขึ้น
Cr.โพสต์ทูเดย์,กรุงเทพธุรกิจ
Comments